วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

The Research &Development



การวิจัยและพัฒนา (The Research &Development)                                


         การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นการวิจัยลักษณะหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนางาน พัฒนาวิชาชีพ หรือการพัฒนาวิถีชีวิตของมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบัน องค์กรจำนวนมากได้พยายามส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา โดยเชื่อว่า การวิจัยและพัฒนาจะช่วยให้ได้ทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ ที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ


ความหมาย และลักษณะของการวิจัยและพัฒนา


          การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต


           การวิจัยและพัฒนา เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำมาทดลอง คือ ปฏิบัติการ (Treatment) หรือตัวแปรต้น โดยมี ดัชนีชี้คุณภาพในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวแปรตาม


การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะคือ


          1.นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น


          2.นวัตกรรมประเภทที่เป็นรูปแบบ /วิธีการ/ กระบวนการ/ระบบปฏิบัติการ อาทิ รูปแบบการสอน วิธีการสอน รูปแบบการบริหารจัดการ ระบบการทำงาน Quality Control (Q.C.) Total Quality Management (TQM) The Balanced Scorecard (BSC) ระบบ ISO เป็นต้น


ผลงานทางวิชาการประเภทงานวิจัยและพัฒนา คุณค่าของงานจะอยู่ที่ สิ่งประดิษฐ์/ผลงานเป็นชิ้นเป็นอันที่สร้างขึ้นหรือ วิธีการ/รูปแบบการทำงาน/รูปแบบการจัดการที่พัฒนาขึ้น ผลงานวิจัยและพัฒนาที่มีคุณค่ามาก คือ กรณีที่สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการที่ ดูดี มีคุณค่า ใช้งานได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ


กระบวนการวิจัยและพัฒนา


         กระบวนการวิจัยและพัฒนา อาจเริ่มด้วยระบบของการวิเคราะห์สภาพปัญหาให้ชัดเจน แล้วเข้าสู่ระยะของการพัฒนาทางเลือก หรือวิธีการใหม่ๆ ซึ่งระยะของการพัฒนาทางเลือกจะมีขั้นตอนคล้ายคลึงกับการวิจัยโดยทั่วไป แต่เป็นการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมให้ได้มาตรฐานก่อนที่จะทำการทดลองใช้ในสภาพจริง เพื่อตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม


          โดยทั่วไปการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม จะมีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้


          ขั้นที่ 1  พัฒนาต้นแบบ ( อาจเป็นการพัฒนาสื่อ อุปกรณ์ หรือรูปแบบการบริหารจัดการ)


          ขั้นที่ 2  ทดลองใช้นวัตกรรม


          ขั้นที่ 3 สรุปผลการทดลอง / เขียนรายงาน


          ในการสร้างต้นแบบนวัตกรรม นักวิจัยและพัฒนาจะต้องตรวจสอบและปรับปรุงต้นแบบนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องในลักษณะของ R&D ดังนี้


          1.ต้องศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม (Review literature)


          2.สร้างต้นฉบับนวัตกรรม (D1 = Development ครั้งที่ 1)


          3.ตรวจสอบประสิทธิภาพในกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก (R1 =Research ครั้งที่ 1)


          4.ปรับปรุงต้นฉบับ (D2)


          5.ทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (R2)


          6.ดำเนินการจนได้ต้นแบบนวัตกรรมที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดแนวการปฏิบัติในการออกแบบวิจัยและพัฒนา


          ในการออกแบบวิจัย จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะของการวิจัยอย่างชัดเจน กำหนดตัวบ่งชี้ หรือประเด็นที่มุ่งศึกษา กำหนดแหล่งข้อมูล หรือผู้ใช้ข้อมูลในการวิจัยหรือทดลองนวัตกรรม กำหนดแนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูล และเครื่องมือที่ใช้ และกำหนดแนวทางการวิเคราะห์หรือตัดสินคุณภาพนวัตกรรม ซึ่งทุกรายการดังกล่าวนี้ ควรจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า และเป็นที่รับทราบตรงกันระหว่างกลุ่มผู้เกี่ยวข้องต่างๆ รายละเอียด เป็นดังนี้


          1.การออกแบบในเรื่องของประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยจะต้องกำหนดเป้าหมายประชากร หรือกลุ่มเป้าหมายในการใช้นวัตกรรมอย่างชัดเจน


          2.การออกแบบในเรื่องการวัดตัวแปรหรือการเก็บรวบรวมข้อมูล นักวิจัยจะต้องกำหนดประเด็น ตัวบ่งชี้ที่ต้องการวัด พร้อมทั้งกำหนดแหล่งข้อมูล หรือผู้ให้ข้อมูลหลักอย่างครบถ้วน กำหนดประเภทเครื่องมือหรือวิธีการวัด ช่วงเวลาในการวัด (เช่น  วัดก่อน และเมื่อเสร็จสิ้นการทดลอง) พร้อมกำหนดแนวปฏิบัติในการพัฒนาเครื่องมือและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดแต่ละรายการ กล่าวโดยสรุป จะต้องสรุปว่าตัวบ่งชี้ หรือประเด็นในการวัดในครั้งนั้นๆ ประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่ละตัวบ่งชี้ หรือแต่ละประเด็น จะใช้เครื่องมือหรือวิธีการใดในการเก็บรวบรวมข้อมูล จะพัฒนาเครื่องมือแต่ละชนิดอย่างไร และจะจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเมื่อไรบ้าง


ในการเลือกใช้เครื่องมือวัด ซึ่งมีหลายชนิด อาทิ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบประเมินคุณลักษณะต่างๆ เป็นต้น การตัดสินใจว่าจะเลือกใช้เครื่องมือวัดชนิดใด จะต้องคำนึงถึงธรรมชาติ หรือลักษณะของตัวบ่งชี้ที่ต้องการวัด และข้อจำกัดต่างๆ อาทิ ถ้าเป็นตัวบ่งชี้ประเภทความรู้ ก็ใช้แบบทดสอบ ถ้าเป็นพฤติกรรม ก็ใช้แบบประเมินพฤติกรรม ถ้าเป็นเจตคติ ก็ใช้แบบวัดเจตคติ เป็นต้น หรือในบางครั้ง นักประเมินได้เลือกใช้เป็นแบบสอบถามที่ประกอบด้วยสาระหลายตอน แต่ละตอนมุ่งวัดตัวบ่งชี้ที่แตกต่างกัน


ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม นักวิจัยจะต้องระลึกเสมอว่า จะต้องเน้นในเรื่องความรวดเร็ว คล่องตัว มีประสิทธิภาพ สามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ทันกับช่วงเวลาต่างๆ ในขณะดำเนินการทดลองนวัตกรรม และกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจะต้องไม่เกิดผลกระทบเชิงลบต่อกระบวนการพัฒนา


          3.การออกแบบในเรื่องสถิติ แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในงานวิจัยและพัฒนา สามารถเลือกใช้สถิติในลักษณะเดียวกับงานวิจัยทั่วไป ซึ่งจะมีทั้งสถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics) และสถิติอ้างอิง (Inferential Statistics)  ซึ่งการเลือกใช้วิธีการทางสถิตที่เหมาะสม จะเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยได้ รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการทางสถิติเหล่านี้ สามารถศึกษาได้จากเอกสารหรือตำราทั่วไป  โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการวางแผนและออกแบบวิจัยและพัฒนา คือ กรอบแนวทางการวิจัย หรือโครงการวิจัยที่มีรายละเอียดครบถ้วน


ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ในงานวิจัยและพัฒนา


          ในงานวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา ตัวแปรต้น (Independent Variable) คือ ตัวนวัตกรรมหรือปฏิบัติการ (Treatment) ที่นักวิจัยให้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งอาจหมายถึง สื่อ/ ชุดสื่อ หรือวิธีการใหม่ๆ ในการจัดการศึกษา ส่วนตัวแปรตาม คือ ตัวแปรที่เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการใส่ปฏิบัติการ เช่น ความรู้ ความพอใจ เจตคติ ทักษะ หรือสภาพการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นต้น


เครื่องมือวิจัย ในงานวิจัยและพัฒนา


          เครื่องมือวิจัยในงานวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา ประกอบด้วย 2 ส่วนที่สำคัญ คือ


          1.เครื่องมือทดลอง หรือชุดนวัตกรรม หรือชุดปฏิบัติการ การวิจัยและพัฒนาจะมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความสามารถของนักวิจัยในการแสวงหานวัตกรรมที่สร้างสรรค์ ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ (ลงทุนไม่มาก สะดวกใช้ สะดวกปฏิบัติ ให้ประสิทธิผลตามที่คาดหวัง) ซึ่งการแสวงหานวัตกรรมที่สร้างสรรค์ นักวิจัยจะต้องทำการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หรือกรณีตัวอย่างนวัตกรรมที่หลากหลาย ก่อนที่จะสังเคราะห์เป็นนวัตกรรมที่จะนำมาทดลอง ทั้งนี้ นักวิจัยควรจะสามารถชี้บ่ง หรือระบุลักษณะที่เห็นว่าเป็นจุดเด่น ความสร้างสรรค์ หรือความเหมาะสมของนวัตกรรมได้อย่างชัดเจนอีกทั่งจะต้องเป็นนวัตกรรมที่มีความถูกต้อง เหมาะสมตามหลักวิชา


          2.เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลหรือเครื่องมือวัดตัวแปร ในการออกแบบด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องวิเคราะห์ทบทวนวัตถุประสงค์ของการวิจัย


กำหนดหรือระบุตัวแปรหรือประเด็นที่มุ่งศึกษา กำหนดแหล่งข้อมูลหรือผู้ให้ข้อมูลที่จะทำให้ได้ข้อมูลที่มีความตรงหรือถูกต้อง กำหนดวิธีการหรือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และกำหนดแนวทางการพัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างชัดเจน


          การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยและพัฒนาการเลือกใช้วิธีการทางสถิติ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยและพัฒนาขึ้นอยู่กับชนิดของตัวแปร หรือตัวชี้วัดที่ทำการศึกษา ซึ่งโดยทั่วไป มักจะมีวิธีการทางสถิติดังต่อไปนี้


          1.วิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ สำหรับตัวแปรตัดตอนที่วัดโดยเครื่องมือประเภทแบบตรวจสอบรายการ หรือาจใช้การเปรียบเทียบสัดส่วนด้วนสถิติอ้างอิง ไค สแควร์


          2.วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนทดสอบความรู้ หรือคะแนนจากมาตรประมาณค่า และใช้สถิติอ้างอิง การทดสอบค่าที (t-test) สำหรับการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียน กับหลังเรียนหรือเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม หรือ การวิเคราะห์ความแปรปรวน เพื่อการตรวจสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยกรณีทดสอบหลายกลุ่ม เป็นต้น


          3.ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำหรับข้อคำถามประเภทปลายเปิด หรือใช้เขียนแสดงความคิดเห็น หรือบรรยายสภาพความเปลี่ยนแปลงหลังการใช้นวัตกรรม


การเลือกใช้วิธีการทางสถิติ ให้เน้นหลักการ สามารถตอบคำถามวิจัยได้ ง่ายต่อการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ


การเขียนรายงานการวิจัยและพัฒนา


          การเขียนรายงานผลการวิจัยและพัฒนา มีจุดเน้นที่การบอกเล่ากระบวนการพัฒนาและผลการใช้นวัตกรรม พร้อมทั้งต้องแสดงผลงานที่ได้จากการพัฒนาคือ สื่อ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน หรือรูปแบบทำงานอย่างชัดเจน ในการนำเสนอผลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ลักษณะการนำเสนอโดยทั่วไป จะประกฎใน 2 ลักษณะคือ


          1.ผลงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ อาทิ พัฒนาสื่อ อุปกรณ์ ชิ้นงาน ฯลฯ การนำเสนอจะประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ 1) ตัวสื่อ/นวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์ และ 2) รายงานการพัฒนาหรือรายงานผลการทดลองใช้ ผลงานวิจัยและพัฒนาในลักษณะนี้จะมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความน่าสนใจ ความสร้างสรรค์ของตัวผลงาน/สื่อ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เป็นสำคัญ


          2.ผลงานประเภททดลองรูปแบบการบริหารจัดการ หรือรูปแบบการปฏิบัติงาน อาทิ ทดลองรูปแบบ การสอน รูปแบบการทำงานใหม่ๆ ฯลฯ ผลงานประเภทนี้มักนำเสนอเป็นเล่มเดียว ในลักษณะของรายงานการทดลอง/รายงานการพัฒนา โดยจะต้องอธิบายให้เห็นรูปแบบของนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน


รูปแบบรายงานการวิจัย


          การออกแบบรายงานการวิจัย หรือการกำหนดโครงสร้างของรายงาสามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ มีความหลากหลายในลักษณะเดียวกับประเภทของการวิจัย รายงานการวิจัยแต่ละประเภทหรือแต่ละเรื่อง อาจมีกรอบโครงสร้างหรือจุดเน้นในการเรียบเรียงที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามเพื่อประโยชน์ในการสื่อสารให้เข้าใจตรงกันระหว่างนักวิจัย จึงมีแนวปฏิบัติในการเขียนรายงานการวิจัยที่ค่อนข้างจะเป็นสากล เป็นที่ยอมรับตรงกัน ดังรูปแบบต่อไปนี้


รูปแบบที่ 1 รูปแบบ รายงานผลการพัฒนานวัตกรรมมีส่วนปะกอบที่สำคัญคือ       


          บทที่ 1 ความเป็นมาและเหตุผลในการพัฒนานวัตกรรม


          บทที่ 2 แนวทางดำเนินการพัฒนานวัตกรรม


          บทที่ 3 ผลการพัฒนานวัตกรรม


รูปแบบที่ 2 รูปแบบ รายงานกึ่งวิชาการมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้


          บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย


                   1.1 ความเป็นมาของการพัฒนานวัตกรรม


                   1.2 วัตถุประสงค์ของการพัฒนา


                   1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการพัฒนานวัตกรรม


          บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีที่ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรม


          บทที่ 3 วิธีดำเนินการพัฒนานวัตกรรม


          บทที่ 4 ผลการพัฒนานวัตกรรม


รูปแบบที่ 3 รูปแบบ รายงานเชิงวิชาการหรือ รายงานการวิจัยทั่วไปเป็นรูปแบบของรายงานที่เป็นสากล โดยทั่วไปประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนนำ (preliminary section) ส่วนเนื้อเรื่อง (body of report) และส่วนอ้างอิง (referenced materials) แต่ละส่วนประกอบด้วยส่วนย่อยๆ ดังนี้


          ส่วนนำ หรือส่วนประกอบตอนต้น ประกอบด้วย


                   -ปกนอก : ชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย  สถานที่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ


                   -ปกใน : เหมือนปกนอก


                   -บทคัดย่อ หรือ สรุปสำหรับผู้บริหาร


                   -กิตติกรรมประกาศ


                   -สารบัญ


                   -สารบัญตาราง


                   -สารบัญภาพ


          ส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย


                   บทที่ 1 บทนำ


                             -ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา


                             -วัตถุประสงค์ของการวิจัย


                             -ขอบเขตของการวิจัย


                             -นิยมศัพท์เฉพาะ


                             -ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ


                   บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


                             -แนวคิด หรือสาระสำคัญเกี่ยวกับตัวนวัตกรรม


                             -แนวคิด แนวปฏิบัติในการพัฒนานวัตกรรม


                             -งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรม


                   บทที่ 3 วิธีการวิจัย


                             -กรอบแนวทางการวิจัย


                             -ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง/แหล่งข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย


                             -เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย


                             -วิจัยการเก็บรวบรวมข้อมูล


                             -การวิเคราะห์ข้อมูล


                             -การนำเสนอข้อมูลผลการวิจัย


                   บทที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล / ผลการวิจัย


          ผลการวิจัยหรือผลการวิเคราะห์ข้อมูลจำแนกตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย


                   บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ


                             -สรุปย่อในเรื่องที่มาของการวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์ของการวิจัยและวิธีดำเนินการวิจัย


                             -สรุปผลการวิจัย


                             -อภิปรายผล


                             -ข้อเสนอแนะ


                   ส่วนอ้างอิง ประกอบด้วย


                             บรรณานุกรม


                             ภาคผนวก


                                      -ตัวอย่างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล


                                      -รายนามผู้ทรงคุณวุฒิที่ช่วยพิจารณาความเหมาะสมของเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล


                                      -ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูล


          โดยสรุป ในการเขียนรายงานการวิจัยและพัฒนา ผู้วิจัยอาจดำเนินการตามกรอบโครงสร้างของรายงานการวิจัยที่เป็นแบบสากลทั่วไป หรืออาจปรับเปลี่ยนโครงสร้างของรายงานให้เหมาะสมกับลักษณะหรือประเภทของการวิจัย อย่างไรก็ตามเนื้อหาสาระของรายงานจะต้องสะท้อนให้เห็นสาระที่สำคัญอย่างน้อย 3 ส่วน คือ 1) ความเป็นมาของปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย 2) แนวทางในการวิจัย และ 3) ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัย ในกรณีของรายงานการวิจัยและพัฒนา จะต้องสื่อสารให้ทราบอย่างน้อย คือ 1) ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการพัฒนานวัตกรรม 2) วิธีดำเนินการพัฒนานวัตกรรม และ 3) ผลการพัฒนานวัตกรรม ทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ


         

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Introduction to Research

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
(Introduction to Research.)
วิธีการเสาะแสวงหาความรู้ (Methods of acquiring knowledge)
          มนุษย์มีความสนใจในสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมานานนับตั้งแต่ยุคเริ่มแรกมาแล้ว โดยเฉพาะความรู้ต่าง ๆ เพื่อที่จะนำมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆที่อยู่รอบตัว ความรู้ต่าง ๆ ของมนุษย์ ในปัจจุบันนี้ประกอบด้วย ข้อเท็จจริงและ ทฤษฎีต่าง ๆ ซึ่งนับวันจะมีข้อค้นพบมากยิ่งขึ้นไปตามระยะเวลา ซึ่งความรู้เหล่านี้ช่วยให้มนุษย์มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถที่จะอธิบาย ควบคุมหรือพยากรณ์เหตุการณ์ต่าง ๆ ในสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้ การเสาะแสวงหาความรู้ของมนุษย์มิใช่กระบวนการที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ แต่เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยสติปัญญา และการฝึกฝนต่าง ๆ ซึ่งมีวิธีการเสาะแสวงหาความรู้ของมนุษย์จำแนกได้ดังนี้
       1. วิธีโบราณ (Older methods) ในสมัยโบราณมนุษย์ได้ความรู้มาโดย
        1.1 การสอบถามผู้รู้หรือผู้มีอำนาจ (Authority) เป็นการได้ความรู้จากการสอบถามผู้รู้ หรือผู้มีอำนาจ เช่น ในสมัยโบราณเกิดโรคระบาด ผู้คนก็จะถามจากผู้ที่มีอำนาจว่าควรทำ อย่างไร ซึ่งในสมัยนั้นผู้มีอำนาจก็จะแนะนำให้ทำพิธีสวดมนต์อ้อนวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ให้ช่วยคลี่คลายเหตุการณ์ต่าง ๆ คนจึงเชื่อถือโดยไม่มีการพิสูจน์
        1.2 ความบังเอิญ (Chance) เป็นการได้ความรู้มาโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งไม่ได้เจตนาที่จะศึกษาเรื่องนั้นโดยตรง แต่บังเอิญเกิดเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์บางอย่างทำให้มนุษย์ได้รับความรู้นั้น เช่น เพนนิซิลินจากราขนมปัง
        1.3 ขนบธรรมเนียมประเพณี (Tradition) เป็นการได้ความรู้มาจากสิ่งที่คนในสังคมประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาจนเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ผู้ที่ใช้วิธีการนี้ ควรตระหนักด้วยว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตจนเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีนั้น ไม่ใช่จะเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเที่ยงตรงเสมอไป ดังนั้นผู้ที่ใช้วิธีการนี้ควรจะได้นำมาประเมินอย่างรอบคอบเสียก่อนที่จะยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง     
 1.4 ผู้เชี่ยวชาญ (Expert) เป็นการได้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง เมื่อมีปัญหาหรือต้องการคำตอบเกี่ยวกับเรื่องใดก็ไปถามผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะเรื่องนั้น เช่น เรื่องดวงดาวต่าง ๆ ในท้องฟ้าจากนักดาราศาสตร์ เรื่องความเจ็บป่วยจากนายแพทย์
        1.5 ประสบการณ์ส่วนตัว (Personal experience) เป็นการได้ความรู้จากประสบการณ์ที่ตนเคยผ่านมา  ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลช่วยเพิ่มความรู้ให้บุคคลนั้น เมื่อประสบปัญหาก็พยายามระลึกถึงเหตุการณ ์หรือวิธีการแก้ปัญหาในอดีตเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่ประสบอยู่
        1.6 การลองผิดลองถูก (Trial and error) เป็นการได้ความรู้มาโดยการลอง แก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือปัญหาที่ไม่เคยทราบมาก่อน เมื่อแก้ปัญหานั้นได้ถูกต้องเป็นที่พึงพอใจ ก็จะกลายเป็นความรู้ใหม่ที่จดจำไว้ใช้ต่อไป ถ้าแก้ปัญหาผิดก็จะไม่ใช้วิธีการนี้อีก
       2. วิธีการอนุมาน (Deductive method) คิดขึ้นโดยอริสโตเติล (Aristotle) เป็นวิธีการคิดเชิงเหตุผล ซึ่งเป็นกระบวนการคิดค้นจากเรื่องทั่ว ๆ ไปสู่เรื่องเฉพาะเจาะจง หรือคิดจากส่วนใหญ่ไปสู่ส่วนย่อยจากสิ่งที่รู้ไปสู่ สิ่งที่ไม่รู้ วิธีการอนุมานนี้จะประกอบด้วย
         2.1 ข้อเท็จจริงใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เป็นจริงอยู่ในตัวมันเอง หรือเป็นข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเป็นกฎเกณฑ์
         2.2 ข้อเท็จจริงย่อย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อเท็จจริงใหญ่ หรือเป็นเหตุผลเฉพาะกรณีที่ต้องการทราบความจริง
  2.3ผลสรุป เป็นข้อสรุปที่ได้จากการพิจารณาความสัมพันธ์ของเหตุใหญ่และ เหตุย่อย     
ตัวอย่างการหาความจริงแบบนี้ เช่น
 ตัวอย่างที่ 1  ข้อเท็จจริงใหญ่ : สัตว์ทุกชนิดต้องตาย
                        ข้อเท็จจริงย่อย : แมวเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง
                        ผลสรุป : แมวต้องตาย       
ตัวอย่างที่ 2  ข้อเท็จจริงใหญ่ : ถ้าโรงเรียนถูกไฟไหม้ ครูจะเป็นอันตราย
                       ข้อเท็จจริงย่อย : โรงเรียนถูกไฟไหม้
                       ผลสรุป : ครูเป็นอันตราย   
ถึงแม้ว่าการแสวงหาความรู้โดยวิธีการอนุมาน จะเป็นวิธีการที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง แต่ก็มีข้อจำกัด ดังนี้
     1. ผลสรุปจะถูกต้องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงใหญ่กับข้อเท็จจริงย่อย หรือทั้งคู่ ไม่ถูกต้องก็จะทำให้ข้อสรุปพลาด ไปด้วย ดังเช่นตัวอย่างที่ 2 นั้น การที่โรงเรียนถูกไฟไหม้ ครูในโรงเรียนอาจจะไม่เป็นอันตรายเลยก็ได้
     2. ผลสรุปที่ได้เป็นวิธีการสรุปจากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้ แต่วิธีการนี้ไม่ได้เป็นการยืนยันเสมอไปว่า ผลสรุปที่ได้จะเชื่อถือได้เสมอไป เนื่องจากถ้าสิ่งที่รู้แต่แรกเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อนก็จะส่งผลให้ข้อสรุปนั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย
     3. วิธีการอุปมาน (Inductive Method) เกิดขึ้นโดยฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) เนื่องจากข้อจำกัดของวิธีการอุมานในแง่ที่ว่าข้อสรุปนั้น จะเป็นจริงได้ต่อเมื่อข้อเท็จจริงจะต้องถูกเสียก่อน จึงได้เสนอแนะวิธีการเสาะแสวงหาความรู้ โดยรวบรวมข้อเท็จจริงย่อย ๆ เสียก่อนแล้วจึงสรุปรวบไปหาส่วนใหญ่ หลักในการอุปมานนั้นมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ
         3.1 วิธีการอุปมานแบบสมบูรณ์ (Perfect inductive method) เป็นวิธีการแสวงหาความรู้โดยรวบรวม ข้อเท็จจริงย่อย ๆ จากทุกหน่วยของกลุ่มประชากร แล้วจึงสรุปรวมไปสู่ ส่วนใหญ่ วิธีนี้ปฏิบัติได้ยากเพราะบางอย่างไม่สามารถนำมาศึกษาได้ครบทุกหน่วย นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายมาก
         3.2 วิธีการอุปมานแบบไม่สมบูรณ์ (Imperfect inductive method) เป็นวิธีการ เสาะแสวงหาความรู้ โดยรวบรวมข้อเท็จจริงย่อย ๆ จากบางส่วนของกลุ่มประชากร แล้วสรุปรวมไปสู่ส่วนใหญ่ โดยที่ข้อมูลที่ศึกษานั้นถือว่าเป็นตัวแทนของสิ่งที่จะศึกษาทั้งหมด ผลสรุปหรือ ความรู้ที่ได้รับสามารถอ้างอิงไปสู่กลุ่มที่ศึกษาทั้งหมดได้ วิธีการนี้เป็นที่นิยมมากกว่าวิธีอุปมานแบบสมบูรณ์ เนื่องจากสะดวกในการปฏิบัติและประหยัดเวลา แรงงานและค่าใช้จ่าย
      4. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) เป็นการเสาะแสวงหาความรู้โดยใช้หลักการของ วิธีการอนุมานแล ะวิธีการอุปมานมาผสมผสานกัน Charles Darwin เป็นผู้ริเริ่มนำวิธีการนี้มาใช้ ซึ่งเมื่อต้องการค้นคว้าหาความรู้ หรือแก้ปัญหาในเรื่องใดก็ต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นก่อน แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการสร้างสมมติฐาน ซึ่งเป็นการคาดคะเนคำตอบล่วงหน้า ต่อจากนั้นเป็นการตรวจสอบปรับปรุงสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล และการทดสอบสมมติฐาน และJohn Dewey ปรับปรุงให้ดีขึ้นแล้วให้ชื่อวิธีนี้ว่า การคิดแบบใคร่ครวญรอบคอบ (reflective thinking) ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
        วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการเสาะแสวงหาความรู้ที่ดีในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางการศึกษาด้วย
  ขั้นตอนของวิธีการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์มีดังนี้
      1. ขั้นปัญหา (Problem)
      2. ขั้นตั้งสมมติฐาน (Hypothesis)
      3. ขั้นรวบรวมข้อมูล (Gathering Data)
      4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis)
      5. ขั้นสรุป (Conclusion)
ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้แก้ปัญหาทางการศึกษา
      1. การตระหนักถึงปัญหา ขั้นนี้ผู้เสาะแสวงหาความรู้มีความรู้สึก หรือตระหนักว่าปัญหาคืออะไร หรือมีความสงสัยใคร่รู้เกิดขึ้นว่าคำตอบของปัญหานั้นคืออะไร
      2. กำหนดขอบเขตของปัญหาอย่างชัดเจนและเฉพาะเจาะจง ขั้นนี้จะต้องกำหนดขอบเขตของปัญหาที่ตนจะศึกษาหาคำตอบนั้นมีขอบเขตกว้างขวางแค่ไหน
      3. กำหนดสมมติฐาน ผู้แสวงหาความรู้ คาดคะเนคำตอบของปัญหาโดยการสังเกตจากข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีอยู่
      4. กำหนดเทคนิคการรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการพัฒนาเครื่องมือที่มีคุณภาพไว้ใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่จะตอบปัญหาที่ต้องการ
      5. รวบรวมข้อมูล ผู้เสาะแสวงหาความรู้ นำเครื่องมือที่พัฒนาไว้ในขั้นที่ 4 มารวบรวมข้อมูลที่จะตอบปัญหาที่ต้องการทราบ
      6. วิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่รวบรวมได้ในขั้นที่ 5 มาจัดกระทำเพื่อหาคำตอบ
      7. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้เสาะแสวงหาความรู้ สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ เกี่ยวข้องกับสมมติฐานที่คาดคะเนไว้บนพื้นฐานของผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล   
ความหมายของการวิจัย  
      การวิจัย ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Research” ถ้าจะแปลตามตัวหมายถึง การค้นหาซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งความหมายของคำว่าวิจัย ทางด้านวิชาการได้มีผู้ให้ความหมายไว้ต่าง ๆ กัน เช่น
     เบสท์ (Best, 1981 อ้างถึงใน บุญเรียง ขจรศิลป์ , 2533 : 5) ได้ให้ความหมายของการวิจัยไว้ว่าเป็นวิธีการที่เป็นระบบระเบียบ และมีจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์ และคิดบันทึกการสังเกตที่มีการควบคุมเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปอ้างอิง หลักการหรือทฤษฎีซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการทำงานและการควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้
     รัตนะ บัวสนธ์ (2543, 3) ได้ให้ความหมายของการวิจัยไว้ว่า เป็นการหาความจริงเชิง สาธารณะด้วยวิธีการที่เรียกว่ากระบวนการวิจัยซึ่งมีลักษณะเป็นระบบมีขั้นตอน
     ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล (2543 : 21) สรุปความหมายของการวิจัยไว้ว่า การวิจัยคือการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบระเบียบเพื่อทำความเข้าใจปัญหาและแสวงหาคำตอบ เป็นกระบวนการที่อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก
     บุญเรียง ขจรศิลป์ (2533 : 5) ได้ให้ความหมายของคำว่า การวิจัยทางด้านวิชาการ หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาที่มีอยู่อย่างมีระบบ และมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
     ดังนั้น การวิจัยทางการศึกษาจึงหมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นความจริงเชิงตรรกะ (Logical) หรือความจริงเชิงประจักษ์ (Empirical) เพื่อตอบปัญหาทางการศึกษาอย่างมีระบบ และมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก 
ลักษณะที่สำคัญของการวิจัย     
เบสท์ (Best , 1981อ้างถึงใน บุญเรียง ขจรศิลป์ , 2533 : 5)  ได้สรุปลักษณะที่สำคัญของการวิจัยไว้ดังนี้
      1. เป้าหมายของการวิจัยมุ่งที่จะหาคำตอบต่าง ๆ เพื่อจะนำมาใช้แก้ปัญหาที่มีอยู่โดยพยายามที่จะศึกษาถึงความสัมพันธ์ ระหว่าง ตัวแปรในลักษณะความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
      2. การวิจัยเน้นถึงการพัฒนาข้อสรุป หลักเกณฑ์หรือทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป้าหมายของการวิจัยนั้นมิได้ หยุดอยู่เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาเท่านั้น แต่ข้อสรุปที่ได้มุ่งที่จะอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากร เป้าหมาย
      3. การวิจัยจะอาศัยข้อมูล หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่สามารถสังเกตได้รวบรวมได้ คำถามที่น่าสนใจบางคำถามไม่สามารถทำการวิจัยได้ เพราะไม่สามารถรวบรวมข้อมูลมาศึกษาได้
      4. การวิจัยต้องการเครื่องมือและการรวบรวมข้อมูลที่แม่นยำ เที่ยงตรง
      5. การวิจัยจะเกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลใหม่ ๆ จากแหล่งปฐมภูมิหรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่เดิมเพื่อหาคำตอบของวัตถุประสงค์ใหม่
      6. กิจกรรมที่ใช้ในการวิจัย เป็นกิจกรรมที่กำหนดไว้อย่างมีระบบแบบแผน
      7. การวิจัยต้องการผู้รู้จริงในเนื้อหาที่จะทำการวิจัย
      8. การวิจัยเป็นกระบวนการที่มีเหตุผล และมีความเป็นปรนัยสามารถที่จะทำการตรวจสอบความตรงของวิธีการที่ใช้ข้อมูลที่รวบรวมมา และข้อสรุปที่ได้
      9. สามารถที่จะทำซ้ำได้ โดยใช้วิธีเดียวกัน หรือวิธีการที่คล้ายคลึงกันถ้ามีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มประชากร สถานการณ์ หรือระยะเวลา
      10. การทำวิจัยนั้นจะต้องมีความอดทนและรีบร้อนไม่ได้ นักวิจัยควรจะเตรียมใจไว้ด้วยว่า อาจจะต้องมีความลำบากในบางเรื่อง ในบางกรณีที่จะแสวงหาคำตอบ ของคำถามที่ยาก ๆ
    11. การเขียนรายงานการวิจัยควรจะทำอย่างละเอียดรอบคอบ ศัพท์เทคนิคที่ใช้ควรจะบัญญัติความหมายไว้ วิธีการที่ใช้ในการวิจัยอธิบายอย่างละเอียด รายงายผลการวิจัยอย่างตรงไป ตรงมาโดยไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัว ไม่บิดเบือนผลการวิจัย
      12. การวิจัยนั้นต้องการความซื่อสัตย์และกล้าหาญในการรายงานผลการวิจัยในบางครั้ง ซึ่งอาจจะไปขัดกับความรู้สึกหรือผลการวิจัยของคนอื่นก็ตาม
ข้อจำกัดของการวิจัยทางการศึกษา   
 1. ความซับซ้อนของเนื้อหาหรือปัญหาที่จะศึกษา
 2. ความยากในการรวบรวมข้อมูล
 3. ความยากในการทำซ้ำ
 4. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยและสมาชิกในกลุ่มตัวอย่าง หรือกลุ่มประชากรมีผลกระทบต่อผลการวิจัย
 5. ความยากในการควบคุมตัวแปรเกิน
 6. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลทางการศึกษา มีความแม่นยำและเชื่อถือได้ น้อยกว่าเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์
ประโยชน์ของการวิจัย  
 1. ช่วยส่งเสริมความรู้ทางด้านวิชาการและศาสตร์สาขาต่าง ๆ ให้มีการค้นคว้าข้อเท็จจริงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะว่าการวิจัยจะทำให้มีการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติมซึ่งทำให้วิทยาการต่าง ๆ  เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ทั้งตัวผู้วิจัยและผู้นำเอาเอกสารการวิจัยไปศึกษา
 2. นำความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติ หรือแก้ปัญหาโดยตรง ช่วยทำให้ผู้ปฏิบัติได้เลือกวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด ก่อให้เกิดการประหยัด
 3. ช่วยในการกำหนดนโยบาย หรือหลักปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นไปด้วยความถูกต้อง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
 4. ช่วยให้ค้นพบทฤษฎีและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เพื่อให้มนุษย์ได้ดำเนินชีวิตอยู่ในโลกอย่างมีความสุขสบาย
 5. ช่วยพยากรณ์ผลภายหน้าของสถานการณ์ ปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
การจัดประเภทการวิจัย
การจัดประเภทการวิจัยทางการศึกษานั้นสามารถจัดได้หลายแบบแล้วแต่ว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ซึ่งพอสรุป ได้ดังนี้
     1. ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
          - เชิงประวัติศาสตร์
          - เชิงบรรยาย
          - เชิงทดลอง
     2. ใช้จุดมุ่งหมายของงานวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
         - บริสุทธิ์
         - ประยุกต์
         - เชิงปฏิบัติการ
     3. ใช้ลักษณะและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
        - เชิงปริมาณ
        - เชิงคุณภาพ
     4. ใช้ลักษณะศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
         - วิทยาศาสตร์
         - สังคมศาสตร์
         - มนุษยศาสตร์
     5. ใช้วิธีการควบคุมตัวแปรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
        - เชิงทดลอง
        - เชิงกึ่งทดลอง
        - เชิงธรรมชาติ   
ใช้ระเบียบวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
    1.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical research) เป็นการวิจัยที่เน้นถึงการศึกษา
ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต (what was ?) ประโยชน์ของการวิจัย ชนิดนี้ก็คือ สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน หรือสามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ เพื่อแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ด้วย
    1.2 การวิจัยเชิงบรรยาย หรือการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เป็นการวิจัยที่เน้นถึงการศึกษารวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน (what is ?) ในการดำเนินการวิจัย นักวิจัยไม่สามารถที่จะไปจัดสร้างสถานการณ์หรือควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ได้ตามใจชอบ การวิจัยแบบนี้เป็นการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ และความสนใจต่อการเมือง มีการวิจัยหลายชนิดที่จัดไว้ว่าเป็นการวิจัยเชิงบรรยายได้แก่
    1.2.1 การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research)
    1.2.2 การวิจัยเชิงสังเกต (Observational research)
    1.2.3 การวิจัยเชิงเปรียบเทียบสาเหตุ (Causal Comparative)
    1.2.4 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlational research)
    1.2.5 การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study)
    1.3 การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) เป็นการวิจัยเพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ (what will be ?) โดยมีการจัดกระทำกับตัวแปรอิสระเพื่อศึกษาผลที่มีต่อตัวแปรตาม และมีการควบคุมตัวแปรอื่นมิให้มีผลกระทบต่อตัวแปรตาม ซึ่งนิยมมากทางด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับทางด้านการศึกษา ค่อนข้างลำบาก ในแง่ของการควบคุมตัวแปรเกิน
ลักษณะที่สำคัญของการวิจัยเชิงทดลองคือ
       1. ควบคุมตัวแปรเกินได้ (Control)
       2. จัดการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระได้ (Manipulation)
       3. สังเกตได้ (Observation)
       4. ทำซ้ำได้ (Replication)
ใช้จุดมุ่งหมายของการวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
    2.1 การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure research) หมายถึง การวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการตอบสนองความอยากรู้หรือมุ่งที่จะหาความรู้เท่านั้น โดยไม่ได้คำนึงว่าจะนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ได้หรือไม่ การวิจัยประเภทนี้ก่อให้เกิดทฤษฎีใหม่ ๆ ตามมา
    2.2 การวิจัยประยุกต์ (Applied research) หมายถึง การวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ใน การแก้ปัญหา หรือปรับปรุงความเป็นอยู่และสังคมของมนุษย์ให้ดีขึ้นได้แก่ การวิจัยทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษาเป็นต้น
    2.3 การวิจัยเชิงปฏิบัติการหรือวิจัยเฉพาะกิจ (Action research) เป็นการวิจัยเพื่อนำผลมาใช้แก้ปัญหาอย่างรีบด่วนหรือปัจจุบันทันที ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเฉพาะเพื่อจะนำผลที่ได้มาใช้แก้ปัญหาเฉพาะเรื่องในวงจำกัด โดยไม่ได้สนใจว่าจะใช้ประโยชน์หรือแก้ปัญหาอื่นได ้หรือไม่
    2.4 การวิจัยสถาบัน (Institutional research) เป็นการวิจัยที่มุ่งนำผลการวิจัยมาใช้เพื่อปรับปรุงงานด้านการบริหารของหน่วยงานหรือ สถาบันนั้น ๆ โดยไม่มีจุดมุ่งหมายในการนำผลการวิจัยไปใช้กับหน่วยงานหรือสถาบันอื่น
ใช้ลักษณะและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
    3.1 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการวิจัยที่มุ่งค้นคว้าหาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติ โดยพยายามที่จะศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ มาบรรยายถึงความสัมพันธ์ของ เงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ การวิจัยเชิงคุณภาพนั้นเป็นการศึกษาค้นคว้าในแนวลึกมากกว่าแนวกว้าง การรวบรวมข้อมูล จะให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เกี่ยวกับประวัติส่วนตัว แนวคิด ความรู้สึกต่าง ๆ ของแต่ละบุคคล วิธีการรวบรวมข้อมูล ได้แก่การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการจะเป็นวิธีการหลักของการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล จะใช้วิธีการสรุปบรรยายทฤษฎีและแนวคิดต่าง ๆ ในการอธิบายและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ
    3.2 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นงานวิจัยที่มุ่งค้นคว้าข้อเท็จจริง ต่าง ๆ เพื่อหาข้อสรุปในเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาในแนวกว้างมากกว่าแนวลึก เพื่อที่จะนำข้อสรุปต่าง ๆ ที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างอ้างอิงไปใช้กับกลุ่มประชากร โดยอาศัยวิธีการทางสถิติ การรวบรวมข้อมูล เน้นหนักไปในทางปริมาณหรือค่าต่าง ๆ ที่สามารถวัดได้ในเชิงปริมาณ วิธีการรวบรวม ข้อมูล มีหลายรูปแบบ เช่น การส่งแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต การสร้างสถานการณ์สมมติการทดลองและการทดสอบ เป็นต้น การวิเคราะห์ข้อมูล จะใช้วิธีการทางสถิติเข้ามาใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล
ใช้ลักษณะศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งได้หลายสาขา เช่น
    1. การวิจัยทางสังคมศาสตร์ ได้แก่ การวิจัยเกี่ยวกับสังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา เศรษฐกิจ เป็นต้น
    2. การวิจัยทางมนุษยศาสตร์ ได้แก่ การวิจัยเกี่ยวกับคุณค่าของมนุษย์ เช่น ภาษาศาสตร์ ดนตรี ศาสนา โบราณคดี ปรัชญา เป็นต้น
    3. การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การวิจัยทางชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ วิศวกรรม แพทย์ พยาบาล เทคนิคการแพทย์ เภสัชศาสตร์ เป็นต้น
ใช้วิธีการควบคุมตัวแปรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
    1. การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) เป็นการวิจัยเพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยมีการจัดสถานการณ์ทดลอง ด้วยการควบคุมระดับของตัวแปรต้น และกำจัดอิทธิพลของตัวแปรภายนอกต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องแล้ววัดผลตัวแปรตามออกมา
    2. การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi Experimental research) เป็นการวิจัยที่สามารถควบคุมตัวแปรภายนอกที่ไม่ต้องการได้เพียง บางตัว เนื่องจากไม่สามารถสุ่มตัวอย่างให้เท่ากันได้
    3. การวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic research) เป็นการวิจัยที่ค้นหาความจริงของ สภาพการณ์ในสังคม ใช้การสังเกตการณ์เป็นสำคัญ และสรุปผลโดยใช้การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าอนุมาน และอุปมาน      
ขั้นตอนในการวิจัย  
ในการวิจัยแต่ละประเภท อาจมีขั้นตอนแตกต่างไป ในที่นี้จะกล่าวถึงขั้นตอนในการวิจัยซึ่งไม่ได้หมายคลุมไปถึงว่าการวิจัยทุกประเภท ต้องมีขั้นตอนตามที่จะกล่าว ต่อไปนี้ ทุกประการ
      1. เลือกหัวข้อปัญหา เป็นการตอบคำถามที่ว่าเราจะทำวิจัยเรื่องอะไร ซึ่งจะต้องพิจารณาให้รอบคอบด้วยความมั่นใจและเขียนชื่อเรื่องที่จะ วิจัยออกมา
      2. การกำหนดขอบเขตของปัญหา เมื่อได้ปัญหาที่จะทำการวิจัยแน่นอนแล้วควรจะกำหนดขอบเขตของ ปัญหาให้ชัดแจ้ง เนื่องจากการกำหนดปัญหาที่แน่นอนช่วยผู้วิจัยได้ดังนี้
           2.1 วางแผนรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสม
           2.2 รู้ถึงเทคนิคต่างๆ ที่เหมาะสมในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจน การแปลผลการวิจัย
           2.3 มองเห็นภาพอย่างแจ่มชัดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง
      3.การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาสาระความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นในตำรา หนังสือ วารสาร รายงานการวิจัยและเอกสาร อื่น ๆ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อผู้วิจัยในข้อต่อไปนี้
1. ช่วยให้ไม่เกิดการซ้ำซ้อนในการวิจัย
 2. ช่วยให้กำหนดขอบเขตของการทำวิจัยได้ถูกต้องชัดเจน (กรอบแนวคิด)
 3. ได้แนวทางในการกำหนดสมมุติฐาน (กรณีที่มีสมมุติฐาน)
 4. ได้แนวทางในการสร้างเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูล
 5. ได้แนวทางในการสุ่มตัวอย่าง
 6. ได้แนวทางในการใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
 7. ได้แนวทางการแปลผลการวิจัยและการเขียนรายงานการวิจัย
     4. การกำหนดสมมุติฐาน หมายถึง การเขียนข้อความที่เป็นข้อคาดหวังเกี่ยวกับความ แตกต่างที่อาจเป็นไปได้ ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นจริงเสมอไป
      5. การเขียนเค้าโครงการวิจัย การเขียนเค้าโครงการวิจัยเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นหนึ่ง เนื่องจากเค้าโครงการวิจัยนั้นจะเป็นแบบแผนในการดำเนินงานวิจัย อย่างมี ระบบ ควร จะ ประกอบด้วย
  1. ชื่องานวิจัย
         2. ภูมิหลังหรือที่มาของปัญหา
         3. วัตถุประสงค์
         4. ขอบเขตของการวิจัย
         5. ตัวแปรต่าง ๆ ที่วิจัย
         6. คำนิยามศัพท์เฉพาะ (ในกรณีที่จำเป็น)
         7. สมมุติฐาน (ถ้ามี)
         8. วิธีดำเนินการวิจัย
             1.1 รูปแบบของงานวิจัย
             1.2 การสุ่มตัวอย่าง
             1.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
             1.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
         9. แผนการทำงาน
        10. งบประมาณ
     6. การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ก่อนที่จะดำเนินการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องทราบว่า จะใช้เครื่องมืออะไรในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเครื่องมือนั้นมีหรือยัง ถ้ายังไม่มีต้องดำเนินการสร้างและนำเครื่องมือนั้นไป ทดลองใช้ เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเองเสมอไป กรณีที่ทราบว่ามีเครื่องมือที่สร้างขึ้นอย่างเป็นมาตรฐานเหมาะสมกับการที่จะนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ก็อาจยืมเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ได้ถ้าสงสัยในเรื่องคุณภาพของเครื่องมือ เนื่องจากสร้างไว้นานแล้วก็อาจนำมาทดลองใช้และวิเคราะห์หาคุณภาพใหม่อีกครั้งหนึ่งเมื่อพบว่ามีคุณภาพเข้าเกณฑ ์ก็นำมาใช้เก็บรวบ รวมข้อมูลได้ (การวิจัยบางเรื่องอาจไม่ใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลที่เป็นแบบแผนก็จะตัดขั้นตอนนี้ออกไป)
     7. ขั้นดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยจะต้องทราบว่าในการทำการวิจัยนั้นสามารถจะรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม ประชากรทั้งหมด หรือ สุ่มตัวอย่าง ซึ่งในการสุ่มตัวอย่างนั้นก็ต้องทราบว่าจะต้องสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการใดที่จะให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของ กลุ่มประชากร ข้อมูลที่ผู้วิจัยจะทำการรวบรวมนั้นมาจากไหน ปฐมภูมิ (Primary Source) หรือทุติยภูมิ (Secondary Source)
วิธีการรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้ในการวิจัยทางการศึกษา ได้แก่
         1. การใช้แบบทดสอบ
         2. การใช้แบบวัดเจตคติ
         3. การส่งแบบสอบถาม
         4. การสัมภาษณ์
         5. การสังเกต
         6. การใช้เทคนิคสังคมมิติ
         7. การทดลอง
         8. การจัดกระทำข้อมูล (Data Processing) การจัดกระทำข้อมูลเป็นวิธีการดำเนินการอย่างมีระบบตามลำดับขั้น กับข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย การจัดกระทำข้อมูลประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
              1. Input เป็นการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ เช่น การบันทึกรอยคะแนน การลงรหัสข้อมูล การถ่ายข้อมูล ลงคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
              2. Processing เป็นขั้นตอนของ การจัดแบ่งประเภทของข้อมูล สำหรับการวิจัย เชิงคุณภาพและเป็นขั้นตอนการคำนวณ สำหรับการวิจัย เชิงปริมาณ ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจจะคำนวณด้วยมือ ใช้เครื่องคิดเลข หรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูลและปัจจัยเอื้ออำนวย
             3. Output เป็นขั้นตอนที่นำผลจากการขั้นตอนที่ได้จากขั้น Processing มาเขียนเป็นรายงาน หรือเสนอในรูปแบบของตาราง หรือ แผนภูมิต่าง ๆ  แล้วแปลความหมายของผลที่ได้ 
9. การสรุปผลการวิจัยและเขียนรายงาน
ขั้นนี้จะเป็นขั้นสุดท้ายของการวิจัย โดยการสรุปผลการวิจัย และเขียนรายงานการวิจัย ซึ่งโดยทั่วไปในรายงานการวิจัย จะประกอบ ด้วย  
1. บทนำ ซึ่งประกอบด้วยความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ในการวิจัย สมมติฐานในการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น ความไม่สมบูรณ์ของการวิจัยและคำนิยามศัพท์เฉพาะ
        2. การตรวจสอบเอกสาร
        3. วิธีการดำเนินการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่ม ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล และขั้นตอนการดำเนินการรวบรวมข้อมูล ตลอดจนวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
        4. ผลการวิจัย
        5. สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ  [1]
ประชากร
 ประชากร(Population) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มของสิ่งของ คน หรือเหตุการณ์ต่างๆ
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างกลุ่ม(Sample)หมายถึง  เป็นส่วนหนึ่งของประชากรที่ผู้วิจัยสนใจ กลุ่มตัวอย่างที่ดีหมายถึงกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะต่างๆที่สำคัญครบถ้วนเหมือนกับกลุ่มประชากร เป็นตัวแทนที่ดีของกลุ่มประชากรได้
 การใช้กลุ่มตัวอย่างมาศึกษาค่าสถิติ(statistics) ซึ่งเป็นลักษณะที่ได้จากการวิเคราะห์กับกลุ่มตัวอย่าง อาจจะมีความผิดพลาดได้เมื่อนำไปใช้ประมาณค่าพารามิเตอร์ (parameter)  หรือลักษณะของประชากร (characteristics of population)   บางครั้งค่าสถิติที่ได้อาจประมาณต่ำกว่าค่าพารามิเตอร์ (underestimation) หรือประมาณเกินกว่าความเป็นจริงของลักษณะประชากร (overestimation) ซึ่งถ้าทำการศึกษาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างประชากรจากประชากรเดิม (parent population) ด้วยขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่าเดิมโดยวิธีการสุ่ม(random) และใช้หลักการสุ่มโดยอาศัยความน่าจะเป็น  (probability  sampling) ความแปรผันของการประมาณค่าพารามิเตอร์จากการแจกแจงค่าสถิติที่นำมาใช้ในการประมาณจะแปรผันตามขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยการแจกแจงของค่าสถิตินี้จะมีลักษณะการแจกแจงเข้าสู่การแจกแจงปกติ (normal distribution)  ซึ่งเรียกว่าการแจกแจงเชิงสุ่ม (sampling distribution)  โดยค่าคาดหวังของค่าสถิติตจะมีค่าเท่ากับค่าพารามิเตอร์ ความแปรผันหรือความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า ให้เป็นความเคลื่อนแบบสุ่ม (random error) หรือเรียกว่าเป็นความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการเลือกตัวอย่าง (sampling error) หรือเรียกว่าเป็นความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (standard error) (เชิดศักดิ์  โฆวาสินธ์. 2545 : 52)
 ในการวิจัย นักวิจัยไม่ได้ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างหลายๆกลุ่มจากประชากรเดียวกันเพื่อหาการแจกแจงเชิงสุ่ม  แต่จะศึกษากับกลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียว เพื่อหาการการแจกแจงของกลุ่มตัวอย่าง และให้ใช้ ทฤษฎี central limit theorem เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของการแจกแจงเชิงสุ่ม และการแจงแจงของประชากร  ประมาณค่าพารามิเตอร์และค่าความคลาดมาตรฐานโดยระบุความมั่นใจหรือความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า   ดังนั้นในการใช้กลุ่มตัวอย่างศึกษาแทนประชากรจำเป็นต้องคำนึงถึง ความถูกต้อง (accuracy) ในการเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร ซึ่งหมายถึง การไม่มีอคติ(bias)ในตัวอย่างที่ถูกเลือก หรือกล่าวได้ว่าโอกาสของการเลือกตัวอย่างมาศึกษาเพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์สูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงมีพอๆกัน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความแม่นยำในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (precision of estimate) ซึ่งความแม่นยำนี้สามารถวัดได้จากค่าความคลาดเลื่อนในการประมาณค่า โดยค่าความคลาดเลื่อนต่ำจะให้ความแม่นยำในการประมาณค่าสูง ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อนนี้ขึ้นอยู่กับกระบวนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เป็นความคลาดเคลื่อนจากการเลือกหน่วยตัวอย่าง(sampling error) ที่คาดเคลื่อนไปจากค่าพารามิเตอร์
 การเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของประชากรนั้นมีอยู่สองหลักการใหญ่คือ 1) หลักการอาศัยความน่าจะเป็น (probability sampling) หรือการเลือกอย่างสุ่ม (random selection) ซึ่งเป็นหลักการที่สมาชิกของประชากรแต่ละหน่วยมีความน่าจะเป็นในการถูกเลือกเท่าๆกันและทราบความน่าจะเป็นนั้น  1) ไม่ใช้หลักการความน่าจะเป็น (nonprobability sampling)  เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ความน่าจะเป็นในการถูกเลือกของแต่ละหน่วยตัวอย่างไม่เท่ากัน หรือบางหน่วยมีโอกาสที่จะไม่ถูกเลือก
 ดังนั้นในการจะเห็นได้ว่าในการที่จะได้ว่าถ้าเราเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น จะทำให้การประมาณค่าพารามิเตอร์ได้แม่นยำกว่า
ขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
 1. กำหนด/นิยามประชากรเป้าหมาย
 2.รวบรวมสมาชิกทั้งหมดของประชากร
 3.กำหนดหน่วยของการสุ่มตัวอย่าง
 4.วางแผนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
 5.ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง
1. กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์
 1.1 จำนวนประชากรหลักร้อยใช้กลุ่มตัวอย่าง 15-30%
 1.2 จำนวนประชากรหลักพันใช้กลุ่มตัวอย่าง 10-15%
 1.3 จำนวนประชากรหลักหมื่นใช้กลุ่มตัวอย่าง 5-10%
2.ใช้สูตรคำนวณ
 2.1 กรณีไม่ทราบค่าพารามิเตอร์ ไม่ทราบจำนวนประชากร ทราบเพียงแต่ว่ามีจำนวนมาก
 2.2 กรณีที่ทราบจำนวนประชากรและมีจำนวนไม่มาก
3.กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan
ตารางแสดงจำนวนประชากรและจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ของ Krejcie and Morgan

จำนวนประชากร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวนประชากร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวนประชากร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
--------------------------------------------------------------------------------

เทคนิคการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
1.การสุ่มโดยไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น
 ในบางครั้งการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น โดยวิธีการสุ่มอาจจะไม่สามารถทำได้หรือทำได้ยาก การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็นจึงถูกนำมาใช้ซึ่งการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้จะมีลักษณะเป็นอัตวิสัย (subjective)  ซึ่งมักจะทำให้การประมาณค่าพารามิเตอร์ขาดความแม่นยำ  ดังนั้นในการเลือกกลลุ่มตัวอย่างแบบนี้มักจะใช้เมื่อไม่ต้องการอ้างอิงถึงลักษณะประชากร ส่วนใหญ่จะใช้กับงานวิจัยสำรวจข้อเท้จจริง (Exploration research) กับกลุ่มที่มีลักษณะเฉพาะและไม่ต้องการเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลทางด้านค่าใช้จ่ายและเวลา เพราะการเลือกตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าเป็นจะมีค่าใช้จ่ายและเวลาน้อยกว่าอาศัยความน่าจะเป็น
1.1 การสุ่มโดยบังเอิญ (Accidental sampling) เป็นการสุ่มจาก
สมาชิกของประชากรเป้าหมายที่เป็นใครก็ได้ที่สามารถให้ข้อมูลได้ครบถ้วน การสุ่มโดยวิธีนี้ไม่สามารถรับประกันความแม่นยำได้ ซึ่งการเลือกวิธีนี้เป็นวิธีที่ด้อยที่สุด เพราะเป็นการเลือกตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับนิยามของประชากรที่สามารถพบได้และใช้เป็นอย่างได้ทันที
1.2 การสุ่มแบบโควตา (Quota sampling) เป็นการสุมตัวอย่างโดยจำแนก
ประชากรออกเป็นส่วนๆก่อน (strata)โดยมีหลักจำแนกว่าตัวแปรที่ใช้ในการจำแนกนั้นควรจะมีความสัมพันธ์กับตัวแปรที่จะรวบรวม หรือตัวแปรที่สนใจ และสมาชิกที่อยู่แต่ละส่วนมีความเป็นเอกพันธ์  ในการสุ่มแบบโควตา นี้มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
  1.2.1 พิจารณาตัวแปรที่สัมพันธ์กับลักษณะของประชากรที่คำถามการวิจัยต้องการที่จะศึกษา เช่น เพศ ระดับการศึกษา
  1.2.2 พิจารณาขนาดของแต่ละส่วน(segment)ของประชากรตามตามตัวแปร
  1.2.3 คำนวณค่าอัตราส่วนของแต่ละส่วนของประชากร กำหนดเป็นโควตาของตัวอย่างแต่ละกลุ่มที่จะเลือก
  1.2.4  เลือกตัวอย่างในแต่ละส่วนของประชากรให้ได้จำนวนตามโควตา
1.3 การสุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) หรือบางครั้ง
เรียกว่าการสุ่มแบบพิจารณา (judgment sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ดุลพินิจของผู้วิจัยในการกำหนดสมาชิกของประชากรที่จะมาเป็นสมาชิกในกลุ่มตัวอย่าง ว่ามีลักษณะสอดคล้องหรือเป็นตัวแทนที่จะศึกษาหรือไม่  ข้อจำกัดของการสุ่มตัวอย่างแบบนี้คือไม่สามารถระบุได้ว่าตัวอย่างที่เลือก จะยังคงลักษณะดังกล่าวหรือไม่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป
1.4 การสุมกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (convenience sampling) การเลือกกลุ่ม
ตัวอย่างโดยถือเอาความสะดวกหรือความง่ายต่อการรวบรวมข้อมูล  ข้อจำกัดของการสุ่มแบบนี้จะมีลักษณะเหมือนกับการสุ่มโดยบังเอิญ
 1.5 การสุมตัวอย่างแบบสโนว์บอลล์  (snowball sampling) เป็นการเลือกตัวอย่างในลักษณะการสร้างเครือข่ายข้อมูล เรียกว่า snowball sampling โดยเลือกจากหน่วยตัวอย่างกลุ่มแรก (จะใช้หรือไม่ใช้ความน่าจะเป็นก็ได้) และตัวอย่างกลุ่มนี้เสนอบุคคลอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงต่อๆไป
ข้อจำกัดของการสุ่มโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็น
1.ผลการวิจัยไม่สามารถอ้างอิงไปสู่ประชากรทั้งหมดได้ จะสรุปอยู่ในขอบเขตของกลุ่มตัวอย่างเท่านั้น ข้อสรุปนั้นจะสรุปไปหาประชากรได้ต่อเมื่อกลุ่มตัวอย่างมีลักษณะต่างๆที่สำคัญๆเหมือนกับประชากร
2.กลุ่มตัวอย่างที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้วิจัยและองค์ประกอบบางตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้ และไม่มีวิธีการทางสถิติอย่างไรที่จะมาคำนวณความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการสุ่ม (sampling error)
2. การสุ่มโดยการคำนึงถึงความน่าจะเป็น(probability sampling)
 2.1 การสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling)
   สมาชิกทั้งหมดของประชากรเป็นอิสระซึ่งกันและกัน  แล้วสุ่มหน่วยของการสุ่ม (Sampling unit) จนกว่าจะได้จำนวนตามที่ต้องการ  โดยแต่ครั้งที่สุ่ม สมาชิกแต่ละหน่วยของประชากรมีโอกาสถูกเลือกเท่าเทียมกัน  ซึ่งก่อนที่จะทำการสุ่มนั้น จะต้องนิยามประชากรให้ชัดเจน ทำรายการสมาชิกทั้งหมดของประชากร สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีที่ทำให้โอกาสในการของสมาชิกแต่ละหน่วยในการถูกเลือกมีค่าเท่ากัน ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
     2.1.1 การจับฉลาก
      2.1.2 การใช้ตารางเลขสุ่ม  (table of random number) ซึ่งตัวเลขในตารางได้มาจากการอาศัยคอมพิวเตอร์กำหนดค่า หรือบางครั้งสามารถใช้วิธีการดึงตัวอย่างโดยอาศัยโปรแกรมสำเร็จรูป
 ในการสุ่มอย่างง่าย มีข้อจำกัดคือ ประชากรต้องนับได้ครบถ้วน (finite population) ซึ่งบางครั้งอาจสร้างปัญหาให้กับนักวิจัย
 2.2 การสุ่มแบบเป็นระบบ (systematic sampling) ใช้ในกรณีที่ประชากรมีการจัดเรียงอย่างไม่ลำเอียง
     1. ประชากรหารด้วยจำนวนกลุ่มตัวอย่าง (K = N/n)
     2. สุ่มหมายเลข 1 ถึง K  (กำหนดสุ่มได้หมายเลข  r )
     3. r จะเป็นหมายเลขเริ่มต้น ลำดับต่อไป r + K, r +2K, r + 3K,
การสุ่มแบบเป็นระบบ โอกาสถูกเลือกของตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน เพราะเมื่อตัวอย่างแรกถูกสุ่มแล้ว  ตัวอย่างหน่วยอื่นก็จะถูกกำหนดให้เลือกตามมาโดยอัตโนมัติ โดยไม่มีการสุ่ม
3. การสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling)เป็นการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่แบ่งกลุ่มประชากรออกเป็นกลุ่มย่อย (subgroup or
strata) เสียก่อนบน พื้นฐานของตัวแปรที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อตัวแปรตาม โดยมีหลักในการจัดแบ่งกลุ่มแต่ละกลุ่มมีความเป็นเอกพันธ์ (Homogeneous) หรือกล่าวได้ว่า ในกลุ่มเดียวกันจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันตามกลุ่มย่อยของตัวแปร  แต่จะมีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม  จำนวนสมาชิกในกลุ่มย่อยจะถูกกำหนดให้เป็นสัดส่วน (proportion) ตามสัดส่วนที่ปรากฏในประชากร ซึ่งเรียกว่า การสุ่มแบบแบ่งชัดโดยใช้สัดสัด (proportion stratified sampling)  การสุ่มแบบแบ่งชั้นจะมีความเหมาะสมกับงานวิจัยที่สนใจความแตกต่างของลักษณะประชากรในระหว่างกลุ่มย่อย
 4. การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster sampling)
ในกรณีที่ประชากรมีขนาดใหญ่ การสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยจัดกระทำกับรายการสมาชิกทุกๆหน่วยของประชากรอาจทำได้ยากหรือทำไม่ได้เลย ดังนั้นแทนที่จะใช้วิธีการสุมจากทุกหน่วย นักวิจัยสามารถสุ่มจากกลุ่มที่ถูกจัดแบ่งไว้อยู่แล้ว ซึ่งวิธีการแบบนี้เรียกว่าการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster sampling)  สิ่งที่ควรคำนึงถึงการสุ่มแบบกลุ่ม มีดังนี้ (เชิดศักด์  โฆวาสินธ์.2545 : 62)
 4.1ความแตกต่างของลักษณะที่จะศึกษาระหว่างกลุ่ม (cluster) มีไม่มาก หรือเรียกว่ามีความเป็นเอกพันธ์ (homogeneous)
 4.2ขนาดของแต่ละกลุ่ม เท่ากันหรือแตกต่างกันไม่มากนัก เพราะเมื่อเลือกกลุ่มมาเป็นตัวอย่างแล้ว  การประมาณค่าพารามิเตอร์ จะมีลักษณะไม่อคติ (unbias estimation)  มากกว่า กรณีที่กลุ่มตัวอย่างในแต่กลุ่มมีขนาดแตกต่างกันมาก
 4.3ขนาดของกลุ่ม (cluster) ไม่มีคำตอบแน่นอนวาจำนวนหน่วยตัวอย่างที่ศึกษาในแต่ละกลุ่ม จะเป็นเท่าใด ขึ้นอยู่กับคำถามการวิจัยและความยากง่ายในการเก็บข้อมูล
 4.4การใช้วิธีการสุมแบบ multistage cluster sampling แท่นการใช้ single – stage มีเหตุผลดังนี้
  4.4.1 ขนาดของแต่ละกลุ่ม ที่มีอยู่มีขนาดใหญ่เกินไปเกินกว่าขนาดตามกำหลังทางเศรษฐกิจ
  4.4.2 สามารถหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการแบ่งกลุ่ม ให้มีขนาดเล็กลงในแต่ละกลุ่มผลของการแบ่งกลุ่ม (clustering) แม้จะมีขนาดเล็กลงแต่ในระหว่างกลุ่มที่จะศึกษายังมีความแตกต่างกันไม่มากนัก
  4.4.3การเลือกตัวอย่างของ compact cluster ให้ความยุ่งยากในกาเก็บรวบรมข้อมูล
  4.5ขนาดขอกลุ่มตัวอย่างหรือจำนวนกลุ่ม (cluster) ที่ต้องการในการเทียบเคียงจากการเลือกแบบการสุ่มอย่างง่าน (simple random sampling) ในการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้จำนวนทั้งหมดของกลุ่ม ที่จัดแบ่งเป็นประชาการที่นำมาใช้ในการคำนวณ 
5. การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling)เป็นกระบวนการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากประชากรซึ่งดำเนินการสุ่มตั้งแต่ 3 ขั้นขึ้นไป

ข้อตกลงเบื้องต้น
  ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัยเป็นเงื่อนไขหรือสภาพการณ์ที่ในการวิจัยนั้นยอมรับว่าเป็นจริงภายใต้หลักการ ทฤษฎี และความมีเหตุผลรองรับโดยเงื่อนไขหรือสถานการณ์นั้น ๆ ไม่สามารถตรวจสอบได้ในทางปฏิบัติ (Fraenkel & Wallen, 1996 : 579) ตัวอย่างการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัย
 1.กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยความจริงใจ (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, 2537 : 3)
 2.นิสิต ระดับปริญญาโท คณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ เป็นกลุ่ม ที่มีความรู้ ความสามารถด้านวิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา แต่ยังขาดประสบการณ์ในการทำวิจัยที่หลากหลาย ความสามารถด้านวิธีวิทยาการวิจัยที่นำมาสร้างข้อกระทงของแบบสอบนี้ สามารถวัดได้ด้วยกระบวนการทางการวัดผล (สุวัฒนา สุภาลักษณ์, 2538 : 6)
 3.กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสมัครเข้าเรียนคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ มีคุณภาพพื้นฐานและปริมาณมาก พอที่จะทำการคัดเลือกให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเบื้องต้นเหมาะสมที่จะนำเข้าสู่กระบวนการผลิตและสำเร็จออกไปเป็นครูที่พึงประสงค์ และคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย มีเอกภาพทางแนวคิด สำหรับการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ ในการคัดเลือกผู้สมัครเข้าเรียนร่วมกัน (ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ, 2537 : 3)
 4.การเก็บรวบรวมข้อมูลในวัน เวลาและสถานที่ที่แตกต่างกันไม่มีผล ทำให้ เปลี่ยนแปลงไป ในการทำวิจัยนั้น เป็นความจริงที่ผู้วิจัยไม่สามารถเก็บข้อมูลให้เสร็จสิ้นภายในวัน เวลา หรือสถานที่เดียวกัน เพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
 ดังนั้นการระบุไว้ในข้อตกลงเบื้องต้นจึงเป็นสิ่งที่สมควรทำ เพราะเป็นการเก็บข้อมูลภายในวัน เวลา สถานที่เดียวกันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว จึงอาจทำให้มีผลต่อการวิจัยบ้างไม่มากก็น้อย แต่ทั้งนี้เป็นสิ่งที่ต้องอนุโลม และเป็นที่ยอมรับกันว่าทำได้ (สุวัฒนา อุทัยรัตน์ อ้างในสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2538 : 15)
ตัวอย่างการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัยที่เป็นมโนมติที่คลาดเคลื่อน
 1.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร ข้อความดังกล่าวข้างต้นไม่ใช่ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัย เนื่องจากเป็นเรื่องที่ผู้วิจัยสามารถพิสูจน์หรือตรวจสอบในทางปฏิบัติได้ด้วยการใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง และใช้คำนวณขนาดของตัวอย่างให้พอดีที่แสดงว่าเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรวิจัยได้
 2.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีคุณภาพ น่าเชื่อถือ ผู้วิจัยนำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ไปตรวจสอบคุณภาพ เครื่องมือให้มีความตรง (Validity) และความเที่ยง (Reliability) ตลอดจนทำการวิเคราะห์เป็นรายข้อ (Item analysis) แสดงเชิงประจักษ์ว่าเครื่องมือมีคุณภาพ
 3.นักเรียนตอบข้อสอบด้วยความตั้งใจ ผู้วิจัยต้องดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้มาตรการแสดงให้ประจักษ์ได้ว่า นักเรียนตอบข้อสอบด้วยความตั้งใจจริงๆ ได้ (นงลักษณ์ วิรัชชัย อ้างในสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2538 : 8) [3]
นิยามศัพท์ทางการวิจัยที่ควรทราบ
 นักวิจัยต้องทำความเข้าใจความหมายของศัพท์ต่าง ๆ ในการวิจัย เพื่อนำไปใช้ในการเขียนรายงานวิจัยที่ถูกต้อง รวมทั้งสื่อให้ผู้อ่านงานวิจัยเข้าใจ ศัพท์ที่ใช้บ่อย ได้แก่
 1. แนวคิด    หมายถึง คำ วลี ที่กล่าวถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีขอบเขตไม่ชัดเจนนัก การตีความขึ้นกับความรู้และประสบการณ์ของผู้อ่าน คำเหล่านี้ ได้แก่ สุขภาพดี ความเจ็บปวด ภาวะไข้ เป็นต้น
 2. คำนิยามปฏิบัติการ (Operational definition)  เป็นการให้ความหมายของคำที่เป็นแนวคิด ออกมาในลักษณะที่วัดได้ สังเกตได้ เพื่อให้มีความหมายที่แน่นอนมีขอบเขตเป็นอย่างเดียวกัน จะได้ไม่เกิดความคลาดเคลื่อนในงานวิจัย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายตรงกัน การให้ความหมายของคำในเชิงปฏิบัติการจะต่างไปจากความหมายเชิงทฤษฎี คือ จะเน้นที่การวัด การสังเกตที่ปฏิบัติได้แต่คำนิยามที่ให้ต้องไม่ขัดกับความหมายเชิงทฤษฎี [4]
การเตรียมเครื่องมือในการวิจัย
เครื่องมือวิจัย หมายถึง เป็นอุปกรณ์หรือเทคนิคที่นักวิจัยใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือวัดตัวแปรที่ต้องการศึกษา เช่น
         -แบบสอบถาม
         -แบบสัมภาษณ์
ความสำคัญของเครื่องมือวิจัย
   1. เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจะเป็นส่วนประกอบสำคัญของการวัดการประเมินตัวแปรในการวิจัยตัวแปรในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพมักไม่สามารถวัดโดยตรงจึงต้องอาศัยเครื่องมือในการวิจัย
              2.เป็นสะพานเชื่อมที่สำคัญระหว่างปัญหา วัตถุประสงค์ และสมมุติฐานการวิจัย กับข้อมูลที่ใช้เป็นหลักฐานในการตอบปัญหา
              3.มีส่วนสำคัญทำให้การรวบรวมข้อมูลกระชับตรงประเด็นตามวัตถุประสงค์ มีความต่อเนื่องเป็นขั้นตอน ช่วยลดความผิดพลาด
              4.เครื่องมือวิจัยที่วางรูปแบบที่ดีจะมีส่วนช่วยให้การจัดเตรียมข้อมูลการวิจัยเพื่อวิเคราะห์ง่ายขึ้นดังนั้นเพื่อให้งานวิจัยมีคุณภาพ ผลการวิจัยได้รับความน่าเชื่อถือ นักวิจัยจะต้องมีการวางแผนการดำเนินการวัดที่ดี เพื่อให้ปราศจากความคลาดเคลื่อนหรือมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด
ความคลาดเคลื่อนของการวัด
ความคลาดเคลื่อนของการวัด = ค่าจริง + - ความคลาดเคลื่อน
จำแนกได้ 2 ลักษณะคือ
        1.การจำแนกชนิดของความคลาดเคลื่อนตามลักษณะการเกิด
        2.การจำแนกชนิดของความคลาดเคลื่อนตามแหล่งที่เกิด
1.การจำแนกชนิดของความคลาดเคลื่อนตามลักษณะการเกิด แบ่งออกได้ 2 แบบ
        1.1 ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นชั่วคราว (random or chance errors) เป็นผลจากการเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งในขณะที่ศึกษา เหตุการณ์เกิดขึ้นชั่วคราวแต่มีผลต่อการวัด
        1.2 ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นแล้วอยู่คงที่ (systematic or constant error) มักเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก แต่ส่งผลต่อการวัดทั้งหมด เช่น การชั่งน้ำหนักที่ใช้เครื่องชั่งน้ำหนักที่ให้ผลที่สูงกว่าปกติ 300 กรัม ทำให้น้ำหนักที่ได้ทั้งหมดสูงกว่าความเป็นจริง
2.การจำแนกชนิดของความคลาดเคลื่อนตามแหล่งที่เกิด
        2.1 ความคลาดเคลื่อนเนื่องมาจากเครื่องมือ เช่น คำสั่งแนะนำในการใช้ไม่ชัดเจน ตีความผิด เกณฑ์ในการอ่านไม่ชัดเจนเครื่องมือเสื่อมสภาพ แบบสอบถามชักนำให้ผู้ตอบมีความลำเอียง
        2.2 ความคลาดเคลื่อนเนื่องจากผู้ใช้เครื่องมือ เช่น ผู้ใช้ไม่มีความชำนาญ ถ้ามีผู้วัดมากกว่า 1 คนความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เกิดอคติ ในกลุ่มควบคุมหรือกลุ่มทดลอง
        2.3 ความคลาดเคลื่อนจากผู้ถูกวัด เช่น ผู้ถูกวัดเคยถูกวัดมาแล้วเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้า เบื่อหน่าย รู้ตัวว่าจะถูกวัดทำให้มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากสภาพธรรมชาติ อาจเสแสร้งไม่ร่วมมือ หรือร่วมมือมากเกินไป ผู้ถูกวัดถูกเลือกมาโดยไม่มีการสุ่มทำให้ไม่เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดทำให้ผลการวิจัยคลาดเคลื่อนได้
ชนิดของเครื่องมือวิจัย
        -เครื่องมือวิจัยทางด้านสรีรวิทยา และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ
        -แบบสอบถาม
        -แบบสัมภาษณ์
        -แบบสังเกต
        -แบบทดสอบมาตรฐาน
เครื่องมือวิจัยทางด้านสรีรวิทยา และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ
        1.เครื่องมือวัดทางด้านกายภาพ
เช่น เครื่องมือวัดแสง เสียง ฝุ่นในอากาศ อุณหภูมิ ความดันโลหิต น้ำหนัก ส่วนสูง
        2.เครื่องมือวัดทางเคมี
เช่น เครื่องมือในการตรวจเลือดหาระดับน้ำตาล แอลกอฮอล์ หรือส่วนประกอบอื่นๆ
        3.เครื่องมือวัดทางจุลชีวะ
เช่น เครื่องมือตรวจวัดแบคทีเรียในเลือด ปัสสาวะ การเพราะเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส
แบบสอบถาม
        แบบสอบถาม หมายถึง ชุดของข้อคำถามที่ผู้วิจัยเตรียมไว้ให้ผู้ตอบซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลโดยตรงเขียนตอบในเรื่องใดเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้องการศึกษา แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยที่นิยมใช้กันมากชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
        1.หนังสือนำ
        2.คำชี้แจงในการตอบ
        3.เนื้อหาของแบบสอบถาม
แบบสอบถามที่ใช้มีหลายลักษณะดังนี้
        1.แบบสอบถามชนิดเลือกตอบ
        2. แบบประมาณค่า
        3. แบบสอบถามชนิดปลายเปิด
แบบสอบถามชนิดเลือกตอบ
        มักใช้เพื่อต้องการวัดความรู้ หรือเป็นแบบทดสอบที่มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว มีหลายรูปแบบ เช่น
        -ให้เลือกตอบ 1 คำตอบจากตัวเลือก 2 ตัวเลือก แบบสอบถามชนิดนี้มักจะถามเป็นการตอบรับปฏิเสธ โดยกำหนดคำตอบเป็น ใช่-ไม่ใช่ เคย-ไม่เคย เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย เช่น ท่านเคยตรวจร่างกายประจำปีหรือไม่ ( ) เคย ( ) ไม่เคย
        -ให้เลือกคำตอบ 1 คำตอบจากตัวเลือกมากกว่า 2 ตัวเลือก ซึ่งอาจกำหนด 4 หรือ 5 ตัวเลือก เช่น ท่านมีบุตรกี่คน ( ) 1 คน ( ) 2 คน ( ) 3 คน ( ) มากกว่า 3 คน
        -แบบเลือกตอบได้หลายคำตอบ มักใช้ถามความคิดเห็นหรือประสบการณ์ของผู้ตอบซึ่งมีโอกาสเกิดได้หลายกรณีในเวลา
        -แบบจัดลำดับสิ่งที่ให้ตอบ เช่น ท่านพึงพอใจในบริการที่ได้รับจากใครมากที่สุดเรียงลำดับก่อนหลัง
แบบสอบถามแบบประมาณค่า
        เป็นแบบสอบถามที่กำหนดให้ผู้ตอบเลือกตอบตามระดับความคิดเห็นที่แตกต่างกันโดยตอบเป็นคำตอบเพียงคำตอบเดียว มักใช้วัดเจตคติ ความคิดเห็น หรือความเชื่อของผู้ตอบ ซึ่งมีระดับแตกต่างกัน แบ่งออกเป็น
แบบเลือกตอบจากตัวเลือกที่กำหนดให้
        เช่นท่านคิดว่าการสอนโดยใช้สื่อวีดีทัศน์มีความน่าสนใจในระดับใด
( ) มาก ( ) ปานกลาง ( ) น้อย
แบบเลือกตอบจากตัวเลข เช่น แบบสอบถามชนิดปลายเปิด
        เป็นแบบสอบถามที่มีรูปแบบของคำถามในลักษณะที่ถามอย่างกว้าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ตอบได้ตามเสรี มักใช้เมื่อต้องการข้อมูลหรือความคิดเห็นอย่างกว้าง ๆ เช่น ปัญหายาเสพติดมีผลกระทบต่อชุมชนของท่านอย่างไรบ้าง
_____________________________________________________
แบบสัมภาษณ์
        แบบสัมภาษณ์ เป็นการรวบรวมข้อมูลโดยมีการสื่อสารกันระหว่างผู้ถามกับผู้ให้ข้อมูล ทั้งนี้การสื่อสารจะต้องมีจุดมุ่งหมาย แบ่งตามวิธีการสัมภาษณ์ได้ 2 ประเภทคือ
         1. แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างแน่นอน มีลักษณะคล้ายคลึงกับแบบสอบถามแบบเลือกตอบ ประกอบด้วยข้อคำถาม และคำตอบเอาไว้ให้ผู้ตอบเลือกหลายคำตอบ ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลจะสัมภาษณ์ตามเนื้อหาในแบบสัมภาษณ์ เท่านั้นโดยอ่านคำถามทีละข้อ แล้วให้ผู้ตอบเลือกคำตอบที่ได้เตรียมไว้
         2. แบบสัมภาษณ์ชนิดไม่มีโครงสร้างแน่นอน มักประกอบด้วยแนวคำถามกว้าง ๆ และมีลักษณะยืดหยุ่น เพื่อให้ผู้ให้ข้อมูลสามารถให้ข้อคิดในแนวลึกคล้ายแบบสอบถามชนิดปลายเปิด
แบบสังเกต
        แบบสังเกต เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องใช้การดู การฟัง หรือการใช้ประสาทสัมผัสอื่น ๆ เช่นการสัมผัส การดมกลิ่น ซึ่งผู้รวบรวมข้อมูลต้องอยู่ใกล้ชิดกับสิ่งที่ต้องการสังเกตมาก นิยมใช้แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
         1. แบบสังเกตชนิดมีโครงสร้าง เป็นเครื่องมือที่กำหนดขอบเขตของการสังเกตว่าจะต้องสังเกตอะไร และอย่างไรบ้าง มักอยู่ในรูปแบบตรวจสอบรายการ (checklist) โดยกำหนดหัวข้อของการสังเกตและตัวเลือกในแต่ละหัวข้อเพื่อให้ผู้สังเกตบันทึกเมื่อมีเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น
         2. แบบสังเกตชนิดไม่มีโครงสร้าง ไม่ได้กำหนดขอบเขตไว้ล่วงหน้า เมื่อสังเกตพบว่ามีพฤติกรรมใด ๆ เกิดขึ้น ผู้สังเกตจะจดบันทึกไว้ทั้งหมด
แบบทดสอบมาตรฐาน
        แบบทดสอบมาตรฐาน เครื่องมือชนิดนี้มักใช้ในการวัดความถนัด ความสามารถในวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือด้านใดด้านหนึ่ง เช่น
         -แบบวัดความถนัดทางด้านคณิตศาสตร์
         -แบบทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
         -แบบทดสอบทางจิตวิทยาต่าง ๆ เช่น แบบทดสอบความสามารถทางสติปัญญา แบบวัดบุคลิกภาพ
คุณภาพและการพัฒนาเครื่องมือวิจัยคุณภาพของเครื่องมือวิจัย เป็นสิ่งที่นักวิจัยต้องประเมินก่อนการนำไปใช้การประเมินคุณภาพของเครื่องมือวิจัยจะพิจารณาจาก
         1. ความตรง หรือ ความสมเหตุสมผล (validity)
         2. ความเที่ยงหรือความเชื่อมั่น (reliability)
         3. ความยากง่าย (difficulties)
         4. อำนาจจำแนก (discrimination power)
         5. ความเป็นปรนัย (objectivity)
         6. ความหมายในการใช้ (meaningfulness)
         7. ความสามารถในการนำไปใช้ (usability)
ความตรง หรือ ความสมเหตุสมผล (validity) เครื่องมือที่ดีจะต้องตรงในการวัด หมายถึง เครื่องมือนั้นจะต้องวัดในสิ่งที่ตรงกับที่ผู้วิจัยต้องการวัดได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ความตรงของเครื่องมือวัดแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ความตรงตามเนื้อหา (content validity) หมายถึงเครื่องมือนั้นสามารถวัดได้ตรงตามเนื้อหาที่ต้องการวัด เช่น เครื่องมือวัดความพึงพอใจของผู้ป่วยความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการบริการรักษาพยาบาลต้องสามารถวัดความพึงพอใจของผู้ป่วยจริง ๆ
2. ความตรงเชิงสัมพันธ์กับเกณฑ์ (criterion-related validity) เป็นการหาความตรงของเครื่องมือโดยการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากการนำเครื่องมือกับเกณฑ์มาตรฐานไปทดลองใช้ แบ่งเป็น 2 ประเภท
         2.1 ความตรงตามสภาพการณ์ เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือกับเกณฑ์มาตรฐานโดยทดลองใช้ในเวลาเดียวกัน เช่นเครื่องมือวัดความวิตกกังวลสูง ในขณะเดียวกันเมื่อใช้เครื่องมือมาตรฐานอื่นวัดก็ให้ผลมีความวิตกกังวลสูงเช่นกัน แสดงว่าเครื่องมือมีความตรงตามสภาพการณ์
         2.2 ความตรงเชิงพยากรณ์ เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือกับเกณฑ์มาตรฐานภายหลังนำเครื่องมือไปทดลองใช้ เช่น เครื่องมือที่ทำนายอาการซึมเศร้าที่สร้างขึ้นกำหนดว่าถ้าได้คะแนนสูงกว่า 20 คะแนนถือว่า มีโอกาสเกิดอาการซึมเศร้า เมื่อนำเครื่องมือไปวัดสตรีหลังคลอด 1 วันคนหนึ่งได้ 22 คะแนน และปรากฏว่าสตรีดังกล่าวมีอาการซึมเศร้าจริงเมื่อหลังคลอด 6 สัปดาห์ แสดงว่าเครื่องมือนั้นมีความตรงเชิงพยากรณ์
3. ความตรงตามโครงสร้าง (construct validity) เป็นลักษณะของเครื่องมือที่มีรูปแบบหรือโครงสร้างตามทฤษฎีที่ควรจะเป็นในการวัด มักใช้กับเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นแบบวัดทางจิตวิทยา หรือแบบวัดที่มีหลายมิติ เช่น วัดคุณภาพชีวิต แบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม ที่นิยมได้แก่
        - การวิเคราะห์โดยยึดทฤษฎีเป็นเกณฑ์
         - การหาความตรงตามโครงสร้างโดยใช้การวิเคราะห์ทางสถิติชั้นสูง
        - การนำเครื่องมือไปหาความสัมพันธ์กับเครื่องมือมาตรฐานที่มีความตรงตามโครงสร้าง
ความเที่ยงหรือความเชื่อมั่น (reliability)
        ความเที่ยงหรือความเชื่อมั่น (reliability) ในการวิจัยเชิงปริมาณ ความเที่ยงของเครื่องมือเป็นสิ่งที่สำคัญในการประเมินคุณภาพงานวิจัยความเที่ยงของเครื่องมือใดเป็นลักษณะที่แสดงว่าเครื่องมือนั้นมีความคงที่เพียงใด โดยไม่ว่าจะวัดกี่ครั้งก็ได้ค่าตรงกัน หรือใกล้เคียงกัน เช่น หากใช้เครื่องชั่งน้ำหนักเครื่องหนึ่งไปชั่งน้ำหนักคน ๆ หนึ่ง โดยครั้งแรกได้น้ำหนัก 70 กิโลกรัม และเมื่อชั่งครั้งที่สองในอีก 1 นาทีต่อมาได้น้ำหนัก 80 กิโลกรัม แสดงว่าเครื่องชั่งนั้นไม่มีความเที่ยง ถ้าน้ำหนักที่แท้จริงของคนๆ นั้นเป็น 72กิโลกรัม เมื่อพิจารณาด้วยสมการของความคลาดเคลื่อนที่กล่าวไว้
         –>ค่าที่วัดได้ = ค่าจริง + - ความคลาดเคลื่อน
         –>ในการชั่งครั้งแรก 70 = 72-2
         –>ในการชั่งครั้งที่สอง 80 = 72+8
        นั่นคือความคลาดเคลื่อนในการใช้เครื่องมือที่ไม่มีความเที่ยงชั่งน้ำหนักทั้ง 2 ครั้ง คือ -2 และ + 8 กิโลกรัมตามลำดับ ซึ่งทำให้ผลการวัดไม่มีความคงที่และไม่ถูกต้อง เครื่องมือที่ดีต้องมีความเที่ยงสูง วัดกี่ครั้งก็ได้ผลใกล้เคียงกัน ผลที่ได้มีความคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ถูกต้องและเชื่อถือได้
การหาความเที่ยง
         1. การหาความเที่ยงจากความคงที่ (stability) เป็นความเที่ยงจากความคงที่ในการวัดในเวลาต่างกัน หากนำเครื่องมือไปวัดซ้ำในเวลาที่ต่างกัน ผลที่ได้จะใกล้เคียงกันหรือคงที่เพียงใด โดยการหาสัมประสิทธิ์ความเที่ยง (coefficient of correlation) หรือเรียกอีกชื่กหนึ่งว่าวิธีการทดสอบซ้ำ (test-retest method) วิธีโดยการนำเครื่องมือไปวัดในกลุ่มตัวอย่างเดียวกันสองครั้งในเวลาแตกต่างกัน แล้วหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสันมีค่าระหว่าง-1.00ถึง 1.00 ยิ่งค่าใกล้ 1 เท่าใดแสดงว่ายิ่งมีความสัมพันธ์กันสูง โดยทั่วไปเครื่องมือเครื่องมือมีความเที่ยงในระดับที่พอใจเมื่อค่าความเที่ยงสูงกว่า 0.07
         2. การหาความเที่ยงจากความสม่ำเสมอภายใน (internal consistency) เป็นความเที่ยงที่แสดงถึงความสม่ำเสมอของข้อคำถามทั้งหมดในแบบวัดว่าสามารถวัดในเรื่องเดียวกันได้มากน้อยเพียงใด วิธีการหาความเที่ยงชนิดนี้ทำได้โดยการนำเครื่องมือไปทดสอบวัดเพียงครั้งเดียว แล้วนำมาวิเคราะห์ค่าความเที่ยง
วิธีที่นิยมใช้ 3 วิธีคือ
 - การคำนวณแบบแบ่งครึ่ง (spilt – half method)
 - การคำนวณแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient)
 - การคำนวณโดยใช้สูตรของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน ( Kuder- Richardson)
         3.การหาความเที่ยงของผู้สังเกตมากกว่า 1 คน (inter-rater reliability) วิธีนี้ใช้กับเครื่องมือที่เป็นแบบสังเกตและการนำไปใช้จะต้องมีผู้สังเกตหลายคน เช่น แบบสังเกตพฤติกรรมการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกของญาติ 1 ราย โดยการใช้ผู้สังเกต 2 คนนำเครื่องมือไปทดลองใช้ แล้วนำผลที่ได้มาทดสอบว่าตรงกันมากน้อยเพียงใด ผลจากการสังเกตใกล้เคียงกันยิ่งมากก็ถือว่ามีความเที่ยงมาก โดยใช้สูตรคำนวณคือ
          4. การหาความเที่ยงของความคล้ายคลึงกัน (equivalence) วิธีนี้ใช้กรณีที่มีการสร้างแบบวัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่า 1 ชุด เช่น การวิจัยเชิงทดลองซึ่งมีการวัดก่อนและหลังการทดลองผู้วิจัยอาจไม่ต้องการใช้เครื่องมือวัดชุดเดียวเพราะผู้ตอบอาจตอบถูก เพราะจำคำถามได้ จึงสร้างเครื่องมือวัดที่มีเนื้อหาแบบเดียวกัน มีความคล้ายคลึงกันเรียกว่าแบบวัดคู่ขนาน (parallel form) ถ้าคะแนนที่ได้จากการใช้เครื่องมือทั้งสองชุดมีความสัมพันธ์กันสูงจะถือว่าเครื่องมือมีความเที่ยงของความคล้ายคลึงกันสูง
ความยากง่าย (difficulties)เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลโดยเฉพาะแบบทดสอบจะต้องมีความยากง่ายพอเหมาะกับผู้ตอบ เพราะถ้ามีความยากมากเกินไป ผู้ตอบตอบผิดหมด เครื่องมือนั้นจะไม่สามารถวัดสิ่งที่ต้องการได้เลย
วิธีคำนวณ      ความยากง่ายมักใช้กับแบบทดสอบ โดยคำนวณจากสัดส่วนของผู้ตอบถูกกับจำนวนผู้ตอบทั้งหมดในข้อคำถามข้อนั้น เช่น มีคนตอบถูก 10 คน จากจำนวนผู้ตอบทั้งหมด 20 คน ข้อคำถามข้อนั้นจะมีค่าความยากง่ายเท่ากับ .50 ถ้ามีค่าเข้าใกล้ 1 แปลว่าง่าย ถ้าเข้าใกล้ 0 แปลว่ายาก
อำนาจจำแนก (discrimination power)
 เครื่องมือที่ดีจะต้องมีอำนาจจำแนกสูงในการแบ่งแยกสิ่งที่ต้องการวัดออกมา เช่น แยกผู้มีความรู้เรื่องการออกกำลังกาย ออกจากผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องการออกกำลังกาย คนตอบถูกจะต้องมีความรู้เรื่องนั้นจริงๆและคนที่ไม่มีความรู้ก็ควรจะตอบผิด
การหาอำนาจจำแนกทำได้โดยการแบ่งกลุ่มผู้ตอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้คะแนนสูง และกลุ่มที่ได้คะแนนต่ำ ค่าอำนาจจำแนกจะแทนด้วยตัวอักษร r และมีค่าระหว่าง -1.0 จนถึง +1.0
 -ถ้ามีค่าเข้าใกล้ 0 แปลว่ามีอำนาจจำแนกน้อย
 -ถ้าเข้าใกล้ 1 แสดงว่ามีอำนาจจำแนกมาก
 -ข้อคำถามที่ดีต้องมีอำนาจจำแนก 0.2 ขึ้นไป และยิ่งค่ามากยิ่งดี
ความเป็นปรนัย (objectivity) เครื่องมือรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องมีความเป็นปรนัยสูง กล่าวคือทุกคนเมื่ออ่านหรือใช้เครื่องมือนั้นแล้วจะเข้าใจความหมายได้ตรงกันเสมอไม่ว่าจะอ่านเวลาใดก็ตาม รวมทั้งการแปลผลออกมาเป็นคะแนนจะต้องมีเกณฑ์ที่แน่นอน ไม่ว่าใครจะเป็นผู้แปลผลจะต้องได้ค่าคะแนนตรงกันเสมอ
ความหมายในการวัด (meaningfulness) เครื่องมือที่ดีจะต้องถามหรือวัดในสิ่งที่สอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ในการถามระดับการศึกษา แล้วให้ผู้ตอบเลือกว่า ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ซึ่งมีความหมายแตกต่างกันในระดับเดียวกัน ถ้าต้องการวิเคราะห์ให้ละเอียด อาจมีการแยกชั้นปี ที่ศึกษาด้วย
ความสามารถในการนำไปใช้ (usability) เครื่องมือที่ดีจะต้องสามารถนำไปใช้ได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ใช้เวลาเหมาะสมในการนำไปใช้ การแปลผลง่ายไม่ยุ่งยาก และยุติธรรม คุ้มค่ากับแรงงานและงบประมาณที่เสียไป [5]
สถิติที่ใช้ในงานวิจัย
 การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งของการวิจัยที่มีความสำคัญมาก เพราะการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะสำหรับนักวิจัยใหม่ แต่ปัจจุบันปัญหาลดน้อยลงเนื่องจากมีเอกสารตำราให้ค้นมากมาย รวมทั้งมีโปรแกรมสำเร็จรูปให้เลือกใช้ได้หลากหลาย ซึ่งจะช่วยลดเวลาที่ต้องวิเคราะห์เองด้วยมือ รวมทั้งลดโอกาสที่จะคำนวณผิดอีกด้วย ปัญหาจึงเหลือเพียงการเลือกใช้สถิติเหมาะสมกับงานวิจัยเท่านั้น
สถิติที่ใช้ในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์มีหลากหลายมากมายศึกษาได้ไม่มีวันหมด และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่นิยมใช้กันมากมีไม่มากนัก ถ้าจะรวบรวมเป็นหมวดหมู่จะพบว่าสถิติที่ใช้มากในการวิเคราะห์ข้อมูลมีอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่ 
 1.สถิติที่ใช้ในการบรรยายลักษณะข้อมูล
 2.สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม
 3.สถิติที่ใช้ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
1. สถิติที่ใช้ในการบรรยายลักษณะข้อมูล
          เป็นการบรรยายลักษณะข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยว่ามีลักษณะอย่างไร มีความถี่มากน้อยเพียงใด ลักษณะการกระจายเป็นอย่างไร สถิติที่ใช้ในการคำนวณที่สำคัญ ได้แก่ การแสดงค่าร้อยละ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย การหาตำแหน่ง และคะแนนมาตรฐาน      
          การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นการบรรยายลักษณะข้อมูลเพื่อบอกว่าข้อมูลชุดนั้นมีค่ามากน้อยเพียงใด เช่น บอกค่าพิสัย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ถ้าต้องการบอกเพียงค่าเดียว ต้องหาค่าที่เป็นตัวแทนของกลุ่มด้วยการหาแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง หรือเรียกง่ายๆ ว่าหาค่าเฉลี่ย ซึ่งมีหลายวิธีที่นิยมและรู้จักกันทั่วไป ได้แก่ ตัวกลางเลขคณิต (arithmetic mean) มัธยฐาน (median) และฐานนิยม (mode)
          การวัดการกระจาย เป็นการบรรยายลักษณะการกระจายของข้อมูลว่าแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ระหว่างข้อมูลแต่ละตัวในข้อมูลชุดหนึ่งๆ ถ้ามีค่าการกระจายมาก แสดงว่าข้อมูลแต่ละตัวมีค่าห่างกันสถิติที่ใช้วัดการกระจายมีหลายตัวที่ใช้กันทั่วไปได้แก่ พิสัย (range) ส่วนเบี่ยงเบนควอไตล์ (quartile deviation) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ความแปรปรวน (variance) และสัมประสิทธิ์ของการกระจาย (coefficient of variation)
          การหาตำแหน่งและคะแนนมาตรฐาน เป็นการบรรยายลักษณะข้อมูลเชิงเปรียบเทียบด้วยการเปลี่ยนหรือแปลงข้อมูลเดิมหรือคะแนนเดิมให้มีค่าลดลงเป็นตัวเลขตัวใหม่ ที่นิยมใช้กัน ได้แก่ อัตราส่วน (ratio) สัดส่วน (proportion) ร้อยละ (percent) หรือเปอร์เซนไตล์ (percentile) และคะแนนมาตรฐาน (standard score)
2. สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม
          การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มมีประเด็นที่ต้องพิจารณา 2 ประการ คือ สิ่งที่ใช้เปรียบเทียบกับกลุ่มที่เปรียบเทียบ
          สิ่งที่ใช้เปรียบเทียบได้แก่กลุ่มตัวแปรตาม ส่วนกลุ่มที่เปรียบเทียบ ได้แก่ ตัวแปรอิสระในการเปรียบเทียบจะใช้สถิติใดขึ้นอยู่กับกลุ่มที่ใช้เปรียบเทียบ สำหรับสถิติที่ใช้ทดสอบทั่วไป แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ แบบกลุ่มเดียว แบบสองกลุ่ม และแบบหลายกลุ่ม
 3. สถิติที่ใช้ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
          สถิติที่ใช้ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมีหลายตัว แต่ที่ใช้กันมาก ได้แก่ สหสัมพันธ์ และไคสแควร์
          สหสัมพันธ์ (correlation) เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหรือไม่ในลักษณะใด และสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด สหสัมพันธ์มีหลายชนิดที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ สหสัมพันธ์เชิงเดี่ยว (simple correlation) สหสัมพันธ์พหุคูณ (multiple correlation)
          สหสัมพันธ์เชิงเดี่ยว เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว และสมมุติว่ามีความสัมพันธ์กันในลักษณะเส้นตรง สหสัมพันธ์เชิงเดี่ยวมีหลายชนิด ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาสหสัมพันธ์ในลักษณะอื่นๆ ต่อไป ได้แก่ สหสัมพันธ์แบบ Pearson Product Moment และ สหสัมพันธ์แบบ Spearman Rank
          นอกจากสถิติที่ใช้มาก 3 กลุ่ม ดังได้กล่าวแล้ว ยังมีสถิติที่ใช้อีกมากมายหลายประเภท เช่น
           1. สถิติที่ใช้ศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) เป็นการนำสถิติมาใช้ในการวิเคราะห์และแปลผลสิ่งที่เกิดขึ้น โดยการศึกษาย้อนหลัง
           2. สถิติที่ใช้คาดหมายไปข้างหน้า (perspective study) เป็นการศึกษาวิเคราะห์เพื่อคาดหมายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยวิธีการทางสถิติ เช่น สมการถดถอย การวิเคราะห์อนุกรมเวลา การวิเคราะห์แนวโน้ม การคำนวณช่วงความเชื่อมั่นของพารามิเตอร์ เช่น การคาดการณ์จำนวนประชากรของหมู่บ้าน อำเภอ หรือจังหวัด
          การแสดงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยกว่าการวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากเป็นส่วนที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจงานวิจัยได้ถูกต้อง และเข้าใจผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ข้อมูลได้ง่าย การแสดงผลอาจแสดงโดยใช้ตารางหรือกราฟ กราฟที่ดีต้องนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจง่าย[6]